วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554


สรุปวิชาสื่อสิ่งพิมพ์

ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์
ปัจจุบัน สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ มีความสำคัญมากในการนำเสนอข้อมูลทั้งข่าวสาร ภาพ ความคิดเห็น การโฆษณา การประกาศ เนื่องจากเป็นวิธีการที่สามารถทำให้บุคคลอื่นได้เห็น หรือ ทราบข้อความของสื่อสิ่งพิมพ์ได้เป็นปริมาณมาก และครอบคลุมไม่จำกัดพื้นที่ เช่น หนังสือรายวัน ที่มีการผลิตเป็นจำนวนมาก เราสามารถทราบข่าวสาร ภาพ และความคิดเห็นต่างๆ ได้ ไม่ว่าเราจะอยู่ ณ ที่ใดของประเทศไทย 

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ 
1. สื่อพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
2. สิ่งพิมพ์โฆษณา


ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก หมายถึง   การสื่อความหมายด้วยการใช้ศิลปะและศาสตร์ทางการใช้เส้น ภาพวาด ภาพเขียน แผนภาพ ตลอดจนสัญลักษณ์ ทั้งสีและขาว-ดำ ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน เข้าใจความหมายได้ทันที ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
 
หลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์
     ระบบ สีของคอมพิวเตอร์ปกติเมื่อพูดถึงสี มักจะนึกถึงแม่สี3 สี แต่อย่างไรก็ตามการใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ดังนั้นจึงควรทราบระบบสีของคอมพิวเตอร์ก่อน
      ระบบ สีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ"หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆเกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่าการแสดงสีระบบAddivtive
      สีในระบบAdditiveประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง (Red)สีเขียว (Green)และ สีน้ำเงิน (Blue)เรียกรวมกันว่าRGBซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของRGB

องค์ประกอบในการออกแบบ
-    เส้น                                                 -    รูปร่าง 
-     รูปทรง (                                        -    ขนาด
-     ทิศทาง                                           -      พื้นที่ว่าง
-      ลักษณะพื้นผิว                             -      ค่าน้ำหนักของสี 
-      สี (Color)                                     -      วรรณะของสี 
 
โปรแกรม Illustrator 
                Illustrator คือ โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นหรือเวกเตอร์ และยังสามารถรวมภาพกราฟฟิกที่แตกต่างกันระหว่างเวกเตอร์และบิตแม็พ ให้เป็นงานกราฟฟิกที่มีทั้งภาพเป็นเส้นที่คมชัดและ มีเอฟเฟกต์สีสัน สวยงามหรือมีความแปลกใหม่ร่วมกันได้
งานสิ่งพิมพ์
                ไม่ว่าจะเป็นงานโฆษณา โบร์ชัวร์ นามบัตร หนังสือ หรือนิตยสาร เรียกได้ว่าเกือบทุกสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความคมชัด 
งานออกแบบทางกราฟฟิก
                การสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือ การออกแบบสกรีน CD-ROM และการออกแบบการ์ด อวยพร ฯลฯ
งานทางด้านการ์ตูน
                ในการสร้างภาพการ์ตูนต่างๆนั้น โปรแกรม Illustrator ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยในการวาดรูปได้ดี
งานเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
                ใช้สร้างภาพตกแต่งเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็น Background หรือปุ่มตอบโต้ แถบหัวเรื่องตลอดจนภาพประกอบต่างๆ ที่ปรากฏบนหน้าเว็บ
 
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม
Menu Bar  คือ    แถบรวบรวมคำสั่งหลักทุกคำสั่งในการใช้โปรแกรมTool
File มีไว้สำหรับเปิด-ปิด และ บันทึก (Save) ไฟล์ รวมถึงการ Import, Export การสั่งการพิมพ์ เป็นต้นEdit – เป็นคำสั่งสำหรับการปรับแต่ง แก้ไข ดัดแปลง ตัดต่อ รวมถึงการปรับตั้งค่าต่างๆ (Preferences)
Image – คำสั่งนี้ใช้สำหรับปรับค่าต่างๆของภาพทั้งภาพLayer – เป็นคำสั่งในการสร้างเลเยอร์ การปรับแต่งแต่ละ เลเยอร์ รวมถึงการรวมเลเยอร์เข้าด้วยกันSelect – เป็นคำสั่งหรือจัดการกับพื้นที่ที่ต้องการทำงาน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ร่วมกับเครื่องมือใน Tool box
Filter – เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนโดยอัตโนมัต มีฟิลเตอร์หลากหลายชนิดให้เลือกใช้Analysis – เป็นการกำหนดค่าของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดขนาด
3
– เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างภาพให้เป็นสามมิติ View – เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนมุมมอง การย่อหรือขยายขนาดของพื้นที่งาน รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัด
 และเส้น 
Grid ด้วยWindow – คำสั่งนี้มีใว้เพื่อจัดการเกี่ยวกับพื้นที่บนหน้าจอ และการสั่งการแสดงหรือซ่อน หน้าต่าง Palette และ
 กำหนดค่า 
Tool preset
 Help เป็นคำสั่งช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้งานต่างๆ
 
การกำหนดขนาดงานใหม่ (NEW)
1. คลิกเมนู File> New   เพื่อกำหนดขนาดงานใหม่
2.ตังชื่อไฟล์ในช่อง Name
3.กำหนด หน่วยของขนาดงาน
                Pixels                     =   พิกเซล
                Cm                        =   เซนตติเมตร
                Inches                  =   นิ้ว
4.กำหนดค่าความกว้างความสูงของงาน
                width                    =   ความกว้าง
                Height                   =   ความสูง
5.กำหนดค่าความละเอียดในการประมวลผลงาน
6.กำหนดโหมดสีในการแสดงผล

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อินเตอร์เน็ต และ อินทราเน็ต แตกต่างกันอย่างไร



 
อินเทอร์เน็ต (Internet) อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้าน ๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า “TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)” ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ.1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง การเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า “ISP (Internet Service Provider)” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง


อินทราเน็ต ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้

 

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Ois Modle

Layer6, Presentation Layer เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและ ข้อบังคับอย่างไร จุดประสงค์หลักของ Layer นี้คือ กำหนดรูปแบบของการสื่อสาร อย่างเช่น ASCII Text, EBCDIC, Binary และ JPEG รวมถึงการเข้ารหัส (Encription)ก็รวมอยู่ใน Layer นี้ด้วย ตัวอย่างเช่น โปรแกรม FTP ต้องการรับส่งโอนย้ายไฟล์กับเครื่อง server ปลายทาง โปรโตคอล FTP จะอนุญาตให้ผู้ใช้ระบุรูปแบบของข้อมูลที่โอนย้ายกันได้ว่าเป็นแบบ ASCII text หรือแบบ binary JPEG, ASCII, Binary, EBCDICTIFF, GIF, MPEG, Encription เป็นต้น

Layer7, Application Layer เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการรับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความ
หมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์ เช่นแปลความหมายของการกดปุ่มเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปี้ไฟล์ หรือดึงข้อมูลมาแสดงผลบนหน้าจอเป็น Browser, HTTP,FTP, Telnet, WWW, SMTP, SNMP,NFS เป็นต้น
 
 

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
คือลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ได้แสดงไว้ โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์





เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น
จุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วย สลับสายกลาง
การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานี
จะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง
การทำงานของหน่วยสลับสายกลาง จึงเป็นศูนย์กลาง
ของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานี
ต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

โครงสร้างแบบแหวน (Ring Network)
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนดังรูป
ที่ได้แสดงไว้ การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกัน
ไปเป็นทอด ๆ ถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยัง
เครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับ ไม่ส่งต่อ โครงสร้างแบบน
ี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวนมักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลใน
ทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อนเช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์

โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน