วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Control Panel

Control Panel

Control  Panel
1.  คอนโทรลพาเนล (Control  Panel)
            คอนโทรลพาเนล  คือ  แผงควบคุม  ใช้สำหรับปรับค่าต่าง ๆ ที่ใช้ในวินโดวส์และแต่ละไอ      คอนในคอนโทรลพาเนล  จะปรับแต่งค่าไม่เหมือนกันซึ่งการปรับแต่งคอนโทรลพาเนลมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.1  การเปิดใช้  Control  Panel
            1.  คลิกปุ่ม  Start   เลือก   Control  Panel
            2.  จะปรากฏหน้าต่าง  Control  Panel  แบบ   Category  View  จะมีลักษณะที่แยกตามกลุ่มของการปรับแต่งคอนโทรลพาเนล
            3.  ถ้าต้อกงารเปลี่ยนหน้าต่าง  control  panel  ให้เป็นแบบ  Classic  View  ให้คลิกที่  Switch  to  Classic  Veiw  ทางด้านซ้าย
            4.  หน้าต่าง  Control  Panel  ก็จะเปลี่ยนหน้ามาไปเป็นแบบ  Classic  View  จะทำให้มองเห็นไอคอนต่าง ๆ  ได้มากกว่า  แบบ  Category  View
            5.  ถ้าอยากเปลี่ยนไปใช้แบบ  Category  View  ให้คลิกที่  Switch  to  Category  View  หน้าตาของ control  panel  จะกลับมาเป็นแบบ  Category  View  เหมือนเดิม
2.  การปรับแต่งเมาส์
2.1  การปรับแต่งการคลิกเมาส์
            1.  บนหน้าต่าง  Control  Panel  ดับเบิ้ลคลิกไอคอน  Mouse
            2.  คลิกแท็ป  Buttons
            3.  Buttons  configuration  ถ้าเราคลิกเลือกให้มีเครื่องหมายถูกในช่องนี้จะสลับปุ่มการทำงาน  ซ้าย – ขวา  ของเมาส์
            4.  Double  Click  speed  ปรับความเร็วในการดับเบิ้ลคลิกว่าจะให้ช้า (slow)  หรือเร็ว (Fast)
            5.  Click  Lock        ถ้าเราคลิกเลือกให้มีเครื่องหมายถูกในช่องนี้  สามารถคลิกลากโดยไม่ต้องคลิกเมาส์ค้างไว้  เมื่อเราต้องการปล่อยให้คลิกเมาส์อีกครั้ง
            6.  Test  area  เป็นพื้นที่ทดสอบการใช้เมาส์ขณะที่เราปรับแต่ง
            7.  เมื่อทำการปรับแต่งเสร็จแล้วคลิกปุ่ม  OK
2.2  การปรับแต่งความเร็วในการเลื่อนเมาส์
            1.  บนหน้าต่าง  control  panel  ดับเบิ้ลคลิกไอคอน  Mouse
            2.  คลิกแท็ป  Pointer  Options
            3.  Motion  ปรับระดับความเร็วในการเลื่อนเมาส์
            4.  ถ้าเราคลิกเลือกเครื่องหมายถูกในช่องนี้  เมื่อเราเลื่อนเมาส์เข้าไปในไดอะล็อกบ็อกซ์ให้เมาส์ชี้ปุ่มที่เป็น  Default  โดยอัตโนมัติ  ทำให้เลื่อนเมาส์น้อยลง
            5.  ปรับความยาวของเงาขณะที่ลากเมาส์
            6.  ถ้าคลิกเลือกเครื่องหมายถูกในช่องนี้  เมาส์จะถูกซ่อนขณะที่พิมพ์ข้อความ
            7. ถ้าคลิก   เลือกเครื่องหมายถูกในช่องนี้     ในกรณีที่มองหาเมาส์ไม่เจอ จะสามารถแสดงตำแหน่งของเมาส์ได้เมื่อเรากด  Ctrl
            8.  เมื่อทำการปรับแต่งเสร็จแล้วคลิกปุ่ม  OK
3.  การปรับแต่งคีย์บอร์ด
1.  บนหน้าต่าง Control  Panel  ดับเบิ้ลคลิกไอคอน Keyboard
2.  คลิกแท็ป  Speed
3.  ปรับช่วงเวลาขณะที่เรากดคีย์บอร์ดค้างไว้ก่อนที่ตัวอักษรจะซ้ำ
4.  ปรับเวลาเมื่อกดคีย์บอร์ดค้างไว้แล้วจะให้ตัวอักษรที่ขึ้นซ้ำมีความเร็วแค่ไหน
5.  ช่องนี้ใช้สำหรับทดลองกดคีย์บอร์ด
6.  ปรับความเร็วในการกระพริบของเคอร์เซอร์
7.  เมื่อปรับแต่งเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม  OK
4.  การดูข้อมูลสเป็คของเครื่อง
          การเข้าดูข้อมูลสเป็คของเครื่องทำให้เราสามารถรู้เบื้องต้นว่าเครื่องของเราสเป็คอะไร ซึ่งการเข้าดูจะเป็นการบอกสเป็ค    มีรายละเอียดดังนี้
1.   บนหน้าต่าง  Control  Panel  ดับเบิ้ลคลิกไอคอน  System
2.  คลิกแท็ป  General
3.  System  เป็นส่วนที่บอกว่าเป็นเครื่องรุ่นใด  Home  Editor  หรือ  Proferessional
4.  Registered  เป็นส่วนที่บอกชื่อผู้ใช้หรือหน่วยงานและรหัสผลิตภัณฑ์
5.  Computer  เป็นส่วนที่บอกสเป็กของเครื่องมี  CPU  ความถี่  และความจุ  RAM
6.  คลิกปุ่ม  OK
5.  การตั้งค่าวันที่ เวลา  และ Fime  Zone
          เราสามารถปรับตั้งวันที่เวลาและ Time  Zone  ได้  การปรับตั้ง  Time  Zone  ต้องปรับให้ตรงกับประเทศของเราจึงจะได้เวลาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน  มีรายละเอียดดังนี้
1.  บนหน้าต่าง  Control  Panel  ดับเบิ้ลคลิกไอคอน  Date  and  Time
2. จะปรากฏหน้าต่าง  Date  and  Time  Properties
3.  ตั้งค่าเดือน
4.  ตั้งค่าปี
5.  ตั้งค่าวัน
6.  ตั้งค่าเวลา
7.  คลิกแท็ป  Time  Zone
8.  คลิกเลือกเขคเวลา ของเราเลือก  (GMT+07.00)Bangkok,Honoi,Jakarta
9. คลิกปุ่ม  OK
6.  โปรแกรมในวินโดวส์  XP
         โปรแกรมในวินโดวส์  XP  จะกล่างถึงโปรแกรมบางโปรแกรมที่อยู่ใน  Accessories   โปรแกรมที่มีความจำเป็น หรือใช้งานบ่อยเท่านั้น
6.1  การเข้าใช้งานโปรแกรม
1.  คลิกปุ่ม  Start  เลือก  All Programs
2.  เลือก  Accessories
3.  ก็จะพบโปรแกรมใช้งานอยู่ใน  Accessories 
6.2  Accessbility
              โปรแกรมในกลุ่มนี้จะเป็นโปรแกรมที่ช่วยปรับวินโดวส์ให้เหมาะกับการใช้งาน และเป็นโปรแกรมที่ปรับวินโดวส์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่พิการอีกด้วยมีโปรแกรมย่อยดังนี้
1.  Accessibility  Wizard  เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการปรับแต่งการมอง   การฟัง  และการเคลื่อนไหว
2.  Magnifier  เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการขยายหน้าตาของวินโดวส์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
3.  Narrator  เป็นโปรแกรมที่ช่วยอธิบายส่วนต่าง ๆ  บนหน้าจอบริเวณที่เมาส์ชี้อยู่  แต่ออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น  สำหรับผู้มีปัญหาทางด้านสายตา
4.On - Screen Keyboard      เป็นโปรแกรมที่แสดงแป้นคีย์บอร์ดบนหน้าจอ เพื่อให้ผู้ที่ไม่สามารถกดคีย์บอร์ดใช้เมาส์    คลิกปุ่มคีย์บอร์ดบนหน้าจอแทน
5.  Utility  Manager  เป็นโปรแกรมที่ช่วยการปิดหรือเปิดโปรแกรม  Magnifier, Narrator  และ  On – Screen  Keyboard  ทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
6.3  Communications  Folders
             Communications  Folders   เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเชื่อมต่ดกับอินเตอร์เน็ต  เครือข่ายต่าง ๆ  หรือต่อกับผู้ใช้คนอื่นที่อยู่ในระบบ Network  ได้อีกด้วย  มีโปรแกรมต่าง ๆ ดังนี้
1.  Hyper  Terminal  เป็นโปรแกรมสื่อสารที่ผ่านทางสายโทรศัพท์  เพื่อติดต่อกับเครื่องอื่น
2.  Network  Connections  เป็นโปรแกรมที่ใช้ปรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
3.  Network  Setup  Wizard  เป็นโปรแกรมช่วยสร้างการเชื่อมต่อหรือติดตั้งระบบเน็ตเวิร์กต่าง ๆ
4.  New  Connection  Wizard  เป็นโปรแกรมที่ช่วนสร้างการเชื่อมต่ดเน็ตเวิร์กใหม่
5.  Remote  Desktop  Connection  เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ก  เพื่อทำการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
6.4  Entertainment  Folder
                 Entertainment  Folder   เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการดูหนังฟังเพลง  เกี่ยวกับไฟล์เสียงและวีดีโอ  ซึ่งมีโปรแกรมต่าง ๆ  ดังนี้
1.  Sound  Recorder  เป็นโปรแกรมที่ใช้บันทึกเสียง
2.  Volume  Control  เป็นโปรแกรมที่ใช้ปรับความดับของเสียงและปรับความสมดุล  ซ้าย - ขวา
3.  Windows  Media  Player  เป็นโปรแกรมที่ใช้เล่นไฟล์มัลติมีเดียต่าง ๆ เช่น  การเล่นแผ่น VCD  คาราโอเกะ  เป็นต้น
6.5  System   Tools  Folder
            System   Tools  Folder    เป็นกลุ่มของโปรแกรมทีใช้ในการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
  ซึ่งมีโปรแกรมต่าง ๆ  ที่จำเป็นดังนี้
1.Disk  Cleanup เป็นโปรแกรมที่ใช้ลบไฟล์ที่ไม่ใช้เพื่อทำให้พื้นที่ใน ฮาร์ดดิสก์
ของเราเพิ่มขึ้นอีกด้วย
2. Disk   Defragmenter เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์
 เพื่อทำให้เครื่องของเราทำงานเร็วขึ้น
6.6  Address  Book
                 Address  Book        เป็นโปรแกรมที่ใช้ใส่และจัดการข้อมูลที่เป็นชื่อ
   หรือที่อยู่และอีเมล์แอดเดสของผู้ที่เราต้องการจะติดต่อ  จะใช้ร่วมกับโปรแกรม  Outlook  Express
    6.7  Calculator
             Calculator  เป็นโปรแกรมเครื่องคิดเลข  ใช้สำหรับคิดเลขทั่ว ๆ ไป
และยังสามารถคำนวณเลขขั้นสูงกว่าการ  บวก  ลบ  คูณ หาร ธรรมดาได้อีกด้วย
 6.8  NotePad
            NotePad  เป็นโปรแกรมที่ใช้แก้ไขไฟล์ที่เป็นข้อความธรรมดา  (Text  editor)
 ซึ่งไม่สามารถจัดรูปแบบข้อความได้  แต่สามารถเปลี่ยนขนาด  และรูปแบบ  ของตัวอักษร(Font)  ได้
6.9  Paint 
            เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ  ตัดภาพอย่างง่ายเช่นการวาดรูปวงกลม  สี่เหลี่ยม
 การใส่สีต่าง ๆ  และยังสามารถจัด  หมุนภาพตกแต่งภาพได้อีกด้วย
6.10  WordPad
              เป็นโปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์ที่มีความสามารถขั้นพื้นฐานทั่วไป ส่วนมากจะใช้ในการพิมพ์งานหรือรายงานและยังสามารถเปิดไฟล์ของ  Microsoft  Word
ขึ้นมาใช้งานได้อีกด้วย

Control Panel

ข้ามมาที่ฟีเจอร์คู่บุญของวินโดวส์อย่าง Control Panel กันบ้าง ช่วงหลังๆ (ถ้าจำไม่ผิดตั้งแต่ XP) ไมโครซอฟท์หันมาเรียงตัวเลือกใน Control Panel ตามหมวดหมู่ ผลที่ตามมาคือ “หาอะไรไม่ค่อยเจอ” ซึ่ง Windows 7 ก็มีชะตากรรมไม่ต่างกันสักเท่าไร
หลายคนแก้ปัญหาโดยการปรับให้มันแสดงแบบไอคอน แต่หลังๆ นี่คงไม่ไหวแล้วมั้ง ตอนนี้ Control Panel ของ Windows 7 มีตัวเลือกเกือบ 50 อัน เรียงยังไงก็คงดูยาก 
ทางแก้คือ search มันเลยครับ เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาแล้ว หาอะไรก็เจอ จากภาพจะเห็นว่าผลการค้นหาไม่ได้แสดงเฉพาะไอคอน แต่แสดงตัวเลือกที่อยู่ในไอคอนแต่ละอันของ Control Panel ให้ด้วย
ฟีเจอร์นี้คู่แข่งอย่าง Mac OS X ทำได้ใน 10.4 Tiger พร้อมกับฟีเจอร์ Spotlight ฝั่งวินโดวส์เริ่มทำได้ตอน Vista ตอนแรกยังไม่สมบูรณ์ทั้งคู่ (ค้นไม่ค่อยเจอ, ช้า) แต่ตอนนี้เข้าสู่สถานะที่ใช้งานได้จริงแล้ว
Control Panel ของ Windows 7 เพิ่มตัวเลือกใหม่ๆ ให้อีกหลายอัน เช่น Location and Other อันนี้เป็นจุดเปลี่ยนเล็กๆ ของ Windows 7 ครับ หลายๆ คนน่าจะจำหน้าจอ Add/Remove Programs ได้ว่ามันจะมีหน้าจอย่อยสำหรับปรับแต่งองค์ประกอบของวินโดวส์ (เช่น เกม หรือ Accessories) ใน Vista มันถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Windows Features แต่หน้าที่ยังเหมือนเดิม



พอมาถึง Vista ไมโครซอฟท์ปรับโฉมหน้าตาให้มันเป็น Aero และเพิ่มฟีเจอร์ด้านป้องกันมัลแวร์เข้ามาให้ (รวมเข้ามาจาก Windows Defender) แต่แนวคิดหลักไม่มีอะไรเปลี่ยน
ใน Windows 7 ไมโครซอฟท์ขยายขอบเขตความรับผิดชอบของมันออกไป จากที่เคยดูแลเฉพาะด้านความปลอดภัย ก็รวมเรื่องการแก้ปัญหาทางเทคนิคอื่นๆ ของคอมพิวเตอร์ เช่น ไดรเวอร์ของฮาร์ดแวร์ และการแบ็คอัพ เข้ามาด้วย ชื่อของมันเลยเปลี่ยนเป็น Windows Action Center

ไอคอนของ Windows Action Center เป็นรูปธงสีขาว ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นในระบบจะแสดงรูปกากบาทสีแดงประกอบให้เห็น
เมื่อคลิกที่ไอคอนจะแสดงหน้าต่างของ Windows Action Center ดังภาพ จะเห็นว่ามันถูกแบ่งเป็นส่วน Security กับ Maintenance และใช้โค้ดสีบ่งบอกถึงความร้ายแรงของปัญหาคำเตือนให้ลงโปรแกรมแอนตี้ไวรัสยังมีอยู่เช่นเดิม (เมื่อกดปุ่มแล้วจะเข้าไปยังหน้าWindows 7 consumer security software providers) ส่วนคำเตือนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์ มักเป็นเรื่องไดรเวอร์ ซึ่งมันจะขึ้นเตือนเวลามีฮาร์ดแวร์ใหม่แต่หาไดรเวอร์ไม่พบ หรือพบไดรเวอร์เวอร์ชันใหม่ (เรื่องไดรเวอร์และฮาร์ดแวร์ ผมจะเขียนถึงในตอนถัดๆ ไป) ไมโครซอฟท์เลือกใช้คำว่า “solution” สำหรับข้อความชนิดนี้


จากนั้นเวลาเอา USB drive ไปเสียบ ก็จะเห็นไอคอนกุญแจดังภาพ (ซ้ายคือยังไม่ได้ปลดล็อค ขวาคือปลดล็อคแล้ว)

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การสมัคร Blogger

1. สามารถเปลี่ยนภาษาทางด้าน ขวาบน ได้หลากภาษาครับ จากนั้นคลิ๊กที่สร้างบล๊อกดังรูป
 
 
 
 
2. ตั้งชื่อส่วนหัวของบล๊อก ตั้งชื่อบล๊อก จากนั้นก็ คลิ๊กดำเนิกการต่อดังรูปครับ

 
 

3. เลือกแม่แบบ หรือ Theme (หน้าตาบล๊อก) จากนั้น คลิ๊ก ดำเนินการต่อดังรูปครับ
 
 


 
4. เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ คลิ๊ก เริ่มต้นการเขียนบล๊อก ได้ทันทีเลยดังรูปครับ
 



ง่ายมากๆ เลยใช่ไหมครับ ก่อนที่เพื่อนๆจะเริ่มเขียนบล๊อก ผมแนะนำให้เพื่อนๆศึกษาการใช้งานให้เข้าใจก่อนนะครับ เพื่อทำความเข้าใจและเริ่มต้นสร้างบล๊อกได้อย่างไม่ติดขัดครับ สิ่งที่เพื่อนๆจะต้องศึกษามีดังนี้ครับ อ่านต่อ เรื่องแผงควบคุม (Dashboard)

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554


สรุปวิชาสื่อสิ่งพิมพ์

ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์
ปัจจุบัน สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ มีความสำคัญมากในการนำเสนอข้อมูลทั้งข่าวสาร ภาพ ความคิดเห็น การโฆษณา การประกาศ เนื่องจากเป็นวิธีการที่สามารถทำให้บุคคลอื่นได้เห็น หรือ ทราบข้อความของสื่อสิ่งพิมพ์ได้เป็นปริมาณมาก และครอบคลุมไม่จำกัดพื้นที่ เช่น หนังสือรายวัน ที่มีการผลิตเป็นจำนวนมาก เราสามารถทราบข่าวสาร ภาพ และความคิดเห็นต่างๆ ได้ ไม่ว่าเราจะอยู่ ณ ที่ใดของประเทศไทย 

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ 
1. สื่อพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
2. สิ่งพิมพ์โฆษณา


ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก หมายถึง   การสื่อความหมายด้วยการใช้ศิลปะและศาสตร์ทางการใช้เส้น ภาพวาด ภาพเขียน แผนภาพ ตลอดจนสัญลักษณ์ ทั้งสีและขาว-ดำ ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน เข้าใจความหมายได้ทันที ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
 
หลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์
     ระบบ สีของคอมพิวเตอร์ปกติเมื่อพูดถึงสี มักจะนึกถึงแม่สี3 สี แต่อย่างไรก็ตามการใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ดังนั้นจึงควรทราบระบบสีของคอมพิวเตอร์ก่อน
      ระบบ สีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ"หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆเกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่าการแสดงสีระบบAddivtive
      สีในระบบAdditiveประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง (Red)สีเขียว (Green)และ สีน้ำเงิน (Blue)เรียกรวมกันว่าRGBซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของRGB

องค์ประกอบในการออกแบบ
-    เส้น                                                 -    รูปร่าง 
-     รูปทรง (                                        -    ขนาด
-     ทิศทาง                                           -      พื้นที่ว่าง
-      ลักษณะพื้นผิว                             -      ค่าน้ำหนักของสี 
-      สี (Color)                                     -      วรรณะของสี 
 
โปรแกรม Illustrator 
                Illustrator คือ โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นหรือเวกเตอร์ และยังสามารถรวมภาพกราฟฟิกที่แตกต่างกันระหว่างเวกเตอร์และบิตแม็พ ให้เป็นงานกราฟฟิกที่มีทั้งภาพเป็นเส้นที่คมชัดและ มีเอฟเฟกต์สีสัน สวยงามหรือมีความแปลกใหม่ร่วมกันได้
งานสิ่งพิมพ์
                ไม่ว่าจะเป็นงานโฆษณา โบร์ชัวร์ นามบัตร หนังสือ หรือนิตยสาร เรียกได้ว่าเกือบทุกสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความคมชัด 
งานออกแบบทางกราฟฟิก
                การสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือ การออกแบบสกรีน CD-ROM และการออกแบบการ์ด อวยพร ฯลฯ
งานทางด้านการ์ตูน
                ในการสร้างภาพการ์ตูนต่างๆนั้น โปรแกรม Illustrator ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยในการวาดรูปได้ดี
งานเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
                ใช้สร้างภาพตกแต่งเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็น Background หรือปุ่มตอบโต้ แถบหัวเรื่องตลอดจนภาพประกอบต่างๆ ที่ปรากฏบนหน้าเว็บ
 
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม
Menu Bar  คือ    แถบรวบรวมคำสั่งหลักทุกคำสั่งในการใช้โปรแกรมTool
File มีไว้สำหรับเปิด-ปิด และ บันทึก (Save) ไฟล์ รวมถึงการ Import, Export การสั่งการพิมพ์ เป็นต้นEdit – เป็นคำสั่งสำหรับการปรับแต่ง แก้ไข ดัดแปลง ตัดต่อ รวมถึงการปรับตั้งค่าต่างๆ (Preferences)
Image – คำสั่งนี้ใช้สำหรับปรับค่าต่างๆของภาพทั้งภาพLayer – เป็นคำสั่งในการสร้างเลเยอร์ การปรับแต่งแต่ละ เลเยอร์ รวมถึงการรวมเลเยอร์เข้าด้วยกันSelect – เป็นคำสั่งหรือจัดการกับพื้นที่ที่ต้องการทำงาน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ร่วมกับเครื่องมือใน Tool box
Filter – เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนโดยอัตโนมัต มีฟิลเตอร์หลากหลายชนิดให้เลือกใช้Analysis – เป็นการกำหนดค่าของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดขนาด
3
– เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างภาพให้เป็นสามมิติ View – เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนมุมมอง การย่อหรือขยายขนาดของพื้นที่งาน รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัด
 และเส้น 
Grid ด้วยWindow – คำสั่งนี้มีใว้เพื่อจัดการเกี่ยวกับพื้นที่บนหน้าจอ และการสั่งการแสดงหรือซ่อน หน้าต่าง Palette และ
 กำหนดค่า 
Tool preset
 Help เป็นคำสั่งช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้งานต่างๆ
 
การกำหนดขนาดงานใหม่ (NEW)
1. คลิกเมนู File> New   เพื่อกำหนดขนาดงานใหม่
2.ตังชื่อไฟล์ในช่อง Name
3.กำหนด หน่วยของขนาดงาน
                Pixels                     =   พิกเซล
                Cm                        =   เซนตติเมตร
                Inches                  =   นิ้ว
4.กำหนดค่าความกว้างความสูงของงาน
                width                    =   ความกว้าง
                Height                   =   ความสูง
5.กำหนดค่าความละเอียดในการประมวลผลงาน
6.กำหนดโหมดสีในการแสดงผล

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อินเตอร์เน็ต และ อินทราเน็ต แตกต่างกันอย่างไร



 
อินเทอร์เน็ต (Internet) อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้าน ๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า “TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)” ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ.1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง การเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า “ISP (Internet Service Provider)” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง


อินทราเน็ต ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้

 

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Ois Modle

Layer6, Presentation Layer เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและ ข้อบังคับอย่างไร จุดประสงค์หลักของ Layer นี้คือ กำหนดรูปแบบของการสื่อสาร อย่างเช่น ASCII Text, EBCDIC, Binary และ JPEG รวมถึงการเข้ารหัส (Encription)ก็รวมอยู่ใน Layer นี้ด้วย ตัวอย่างเช่น โปรแกรม FTP ต้องการรับส่งโอนย้ายไฟล์กับเครื่อง server ปลายทาง โปรโตคอล FTP จะอนุญาตให้ผู้ใช้ระบุรูปแบบของข้อมูลที่โอนย้ายกันได้ว่าเป็นแบบ ASCII text หรือแบบ binary JPEG, ASCII, Binary, EBCDICTIFF, GIF, MPEG, Encription เป็นต้น

Layer7, Application Layer เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการรับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความ
หมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์ เช่นแปลความหมายของการกดปุ่มเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปี้ไฟล์ หรือดึงข้อมูลมาแสดงผลบนหน้าจอเป็น Browser, HTTP,FTP, Telnet, WWW, SMTP, SNMP,NFS เป็นต้น
 
 

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
คือลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ได้แสดงไว้ โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์





เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น
จุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วย สลับสายกลาง
การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานี
จะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง
การทำงานของหน่วยสลับสายกลาง จึงเป็นศูนย์กลาง
ของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานี
ต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

โครงสร้างแบบแหวน (Ring Network)
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนดังรูป
ที่ได้แสดงไว้ การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกัน
ไปเป็นทอด ๆ ถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยัง
เครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับ ไม่ส่งต่อ โครงสร้างแบบน
ี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวนมักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลใน
ทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อนเช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์

โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน